เมนู

20. วิปปยุตตปัจจัย


1. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ฯลฯ
มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรมที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่กฏัตตา-
รูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย, ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ
หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ด้วยอำนาจของ
วิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของ
วิปปยุตตปัจจัย.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม ด้วยอำนาจ
ของวิปปยุตตปัจจัย
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิด
ก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
[1505] 2. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่
เป็นมหัคคตธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรม ด้วยอำนาจ
ของวิปปยุตตปัจจัย.
[1506] 3. ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุที่เกิดก่อน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณธรรม
ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
[1507] 4. มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรมที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่
เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

[1508] 5. อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณธรรมที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ที่หลายที่เป็นอัปปมาณธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้
ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

21. อัตถิปัจจัย


[1509] 1. ปริตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นปริตตธรรมที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่หทยวัตถุ ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย หทยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
มหาภูตรูป 1 ฯลฯ ส่วนอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ.